คู่มือการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างชาญฉลาด

แบคทีเรียและ ไวรัส

ทั้งไวรัสและแบคทีเรียทำให้เกิดการติดเชื้อ  แต่ยาปฏิชีวนะจะออกฤทธิ์เฉพาะกับแบคทีเรียเท่านั้น

การติดเชื้อไวรัส

  • ได้แก่ หวัด ไข้ห้วัดใหญ่ โรคครูป กล่องเสียงอักเสบ โรคหวัดลงปอด (หลอดลมอักเสบ) และอาการเจ็บคอส่วนใหญ่
  • มักติดต่อกันได้ง่ายกว่าการติดเชื้อแบคทีเรีย
    หากมีคนในครอบครัวป่วยเหมือนกันมากกว่าหนึ่งคน ก็มีแนวโน้มว่าจะติดเชื้อไวรัส
  • สามารถทำให้คนป่วยได้พอๆ กันกับการติดเชื้อแบคทีเรีย
  • โดยปกติจะดีขึ้นภายใน 4-5 วัน แต่อาจใช้เวลานานถึงสามสัปดาห์จึงจะฟื้นตัวเต็มที่

การติดเชื้อแบคทีเรีย

  • พบได้น้อยกว่าการติดเชื้อไวรัส
  • ไม่แพร่กระจายจากคนหนึ่งไปสูอีกคนหนึ่งได้ง่ายเหมือนกับการติดเชื้อไวรัส
  • ตัวอย่างที่พบบ่อย ได้แก่ โรคคออักเสบและโรคปอดบวมบางประเภท

การดื้อยาปฏิชีวนะ

ใช้ยาปฏิชีวนะอย่างชาญฉลาด เพื่อจำกัดการ พัฒนาของการดื้อยาปฏิชีวนะ

การล้างมือ

การล้้งมือเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการหยุดการแพร่กระจายของการติดเชื้อ

ไข้

ไข้ คืออาการที่อุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้นซึ่งมักเกิดจากการเจ็บป่วย ผิวหนังที่แดง ร้อน และแห้ง แม้จะอยู่ใต้รักแร้ ก็ เป็นสัญญาณของอาการไข้

อุณหภูมิของคุณหรือของบุตรหลานคุณนั้น ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่วัด

ไข้:

  • ช่วยให้ร่างกายต่อสู้กับการติดเชื้อ
  • อาจเกิดขึ้นได้จากทั้งการติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย

การดูแล:

  • อาการไข้เป็นกลไกป้องกันที่ช่วยให้ร่างกายได้ต่อสู้กับการติดเชื้อ  อาจเกิดขึ้นได้จากทั้งการติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย
  • หากผู้ที่มีไข้ไม่สบายตัว ให้พิจารณาใช้ย้า อะเซตามิโนเฟน (acetaminophen) หรือ ไอบูโพรเฟน
    (ibuprofen) (ตามคำแนะนำในบรรจุภัณฑ์ของยา)
  • สวมเสื้อผ้าที่มีน้ำหนักเบาให้ตัวเองหรือบุตรหลานเพื่อให้รู้สึกเย็นสบาย
    แต่ไม่หนาวสั่น เนื่องจากอาการสั่นจะทำให้เกิดความร้อนมากขึ้น อยู่ในห้องที่อุณหภูมิประมาณ 20°C หรืออากาศเย็นสบาย
  • ดื่มน้ำเย็นเยอะๆ ให้บุตรหลานดื่มน้ำเย็นหรือรับประทานไอศกรีมแท่งทุก
    ชั่วโมงเมื่อตื่นนอน

หากบุคคลไม่ว่าวัยใดมีไข้้พร้อมผื่นคันและอยู่ในพื้นที่ที่มีโรคหัระบาด โปรดติดต่อ Health Link (กด 811 ใน Alberta) เพื่อรับคำแนะนำเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด

หวัดและน้ำมูกไหล

โรคหวัดเกิดจากไวรัส  มีไวรัสประมาณ 200 ชนิดที่ทำให้เกิดโรคหวัด เด็กอาจเป็นหวัดได้ 8–10 ครั้งต่อปี ผู้ใหญ่จะป่วยเป็นหวัดน้อยลงเนื่องจากร่างกายสร้างภูมิ คุ้มกันต่อไวรัสบางชนิดได้  ยาปฏิชีวนะไม่สามารถต้านเชื้้อไวรัส โรคหวัดได้

อาการ:

  • ในระยะแรกจะมีอาการปวดศีรษะ มีไข้ และน้ำตาไหล ตามมาด้วยอาการน้ำมูกไหล เจ็บคอ จาม และไอ
  • น้ำมูกจะใสในช่วงแรก แต่เมื่อเวลาผ่านไปจะกลายเป็นสีเหลืองหรือเขียวข้น

การป้องกัน:

  • ล้างมือให้สะอาดเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของไวรัสที่ทำให้เกิดหวัด
  • สอนบุตรหลานของคุณให้ล้างมือ

การดูแล:

  • ดื่มน้ำปริมาณมากที่อุณหภูมิใดก็ได้ที่ทำให้รู้สึกสบายที่สุด
  • หากผู้ที่เป็นหวัดไม่สบายตัว ให้พิจารณาใช้ยาอะเซตามิโนเฟน (acetaminophen) หรือไอบูโพรเฟน (ibuprofen) (ตามคำแนะนำในบรรจุภัณฑ์ของยา)
  • หากคุณเป็นหวัดหรือต้องดูแลผู้ที่เป็นหวัด ให้ล้างมือบ่อยๆ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปยังผู้อื่น
  • ยาแก้คัดจมูกหรือยาน้ำแก้ไออาจช่วยบรรเทาอาการได้แต่จะไม่ทำให้ระยะเวลาของการเป็นหวัดสั้นลง

หมายเหตุ:  อย่าให้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้แก่ทารกหรือเด็กอายุต่ำกว่าหกปี

หมายเหตุ:  ยาแก้คัดจมูกและยาน้ำแก้ไออาจมีส่วนผสมของยาลดไข้ร่วมด้วย อ่านฉลากอย่างละเอียด และตรวจสอบกับเภสัชกรหรือแพทย์เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ยาเกินขนาด

ใช้น้ำเกลือหยดจมูก (ซาลีน) เพื่อรักษาอาการคัดจมูก โดยเฉพาะสำหรับทารกและเด็กเล็ก ใช้น้ำเกลือแบบหยดหรือแบบสเปรย์ที่วางขายโดยทั่วไปหรือ ทำขึ้นเองก็ได้.  

การทำน้ำเกลือหยดจมูก

ส่นผสม:

  • น้ำกลั่น 1 ถ้วย (240 มล.) (หากใช้น้ำประปา ให้ต้ม้เป็นเวลา 1 นาทีเพื่อฆ่าเชื้อก่อน จากนั้นรอให้เย็นลงจนอุ่นพอเหมาะ)
  • เกลือแกง ½ ช้อนชา (2.5 กรัม)
  • เบกกิ้งโซดา ½ ช้อนชา (2.5 กรัม)

ละลายส่วนผสมทั้งหมดแล้วใส่ลงในขวดสะอาดที่มีดรอปเปอร์ (หยอดตา) หรือใส่ในขวดบีบ (มีจำหน่ายที่ร้านขายยา) สามารถใช้ไซริงค์บอลได้ เช่นกัน ผสมน้ำเกลือใหม่ทุกๆ 3 วัน

วิธีใช้:

  • นั่งลงแล้วเอียงศีรษะไปด้านหลังเล็กน้อย อย่านอนราบ สอดปลายดรอปเปอร์ 
    ไซริงค์บอล หรือขวดบีบเข้าไปในรูจมูกหนึ่งข้างเพียงเล็กน้อย ค่อยๆ หยดหรือพ่นน้ำเกลือ 2-3 หยดลงในรูจมูก ทำซ้ำกับรูจมูกอีกข้าง เช็ดดรอปเปอร์ด้วย
    ผ้าสะอาดหรือกระดาษชำระหลังการใช้งานทุุกครั้ง

ไข้หวัดใหญ่

ไข้หวัดใหญ่ เกิดจากไวรัส ผู้ใหญ่ที่เป็นไข้หวัดใหญ่สามารถแพร่เชื้อไวรัสไปยังผู้อื่นได้ในเวลา 3-5 วันหลังจากเริ่มมีอาการ เด็กที่เป็นไข้หวัดใหญ่สามารถแพร่เชื้อไวรัสไปยังผู้อื่นได้นานถึง 7 วัน

อาการ:

  • มีไข้/หนาวสั่น
  • ปวดศีรษะ
  • ปวดกล้ามเนื้อและตามลำตั
  • รู้สึกเหนื่อย
  • เจ็บคอ
  • น้ำมูกไหลหรือคัดจมูก/จา
  • ไอ

การป้องกัน:

  • รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ประจำปี
  • ล้างมือให้สะอาดโดยเฉพาะหลังจากอยู่ใกล้ผู้ที่ป่วย สอนบุตรหลานของคุณเรื่องการล้างมือ
  • ปิดจมูกและปากเมื่อจามหรือไอ
  • สอนบุตรหลานเกี่ยวกัมารยาทในการไอจาม

การดูแล:

  • ดื่มของเหลวเยอะๆ เช่น น้ำเปล่า
  • ให้คุณหรือบุตรหลานของคุณพักผ่อนให้เพียงพอ อยู่บ้านหรือให้บุตรหลานอยู่บ้านในช่วงสองสามวันแรกหลังมีอาการ เพื่อพักผ่อนและป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปยังผู้อื่น
  • หากเป็นไข้ปวดศีรษะ หรือปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ให้พิจารณาใช้ยาอะเซตามิโนเฟน (acetaminophen) หรือไอบูโพรเฟน (ibuprofen) (ตามคำแนะนำในบรรจุุภัณฑ์ของยา)

ฤดูไข้หวัดใหญ่มักเริ่มในเดือนพฤศจิกายนหรือธันวาคมของทุกปี และสิ้นสุดในเดือนเมษายนหรือพฤษภาคม  บางครั้งไข้หวัดใหญ่อาจทำให้เกิดโรคปอดบวมได้

การติดเชื้อ ไซนัส

โพรงจมูก (ไซนัส) เป็นช่องว่างที่เต็มไปด้วยอากาศที่อยู่รอบๆ จมูกและดวงตา ไซนัสอักเสบเกิดขึ้นเมื่อมีของเหลวสะสมอยู่ในโพรงจมูก

ไซนัสอักเสบมักเกิดขึ้นหลังเป็นหวัด แต่หวัดส่วนใหญ่ไม่ทำให้เกิดไซนัสอักเสบจากแบคทีเรีย  อาการของโรคไซนัสอักเสบจะรุนแรงกว่าและมีอาการนานกว่าไข้หวัด

หมายเหตุ: หากมีอาการร่วมกับการเจ็บคอและ/หรือไอ โปรดดูที่ โรคหวัด และ/หรือ ไข้หวัดใหญ่.

อาการ:

  • ปวดหรือแน่นบริเวณใบหน้า ปวดศีรษะ ปวดฟัน รู้สึกเหนื่อย ไอ มีไข้

  • การอุดตันจมูกด้วยน้ำมูกสีเหลืองหรือสีเขียวเป็นเวลานานกว่า 10 วันเป็นสัญญาณว่าคุณอาจต้องใช้ยาปฏิชีวนะ

การดูแล:

  • หากเจ็บปวดและเป็นไข้ให้พิจารณาใช้ยาอะเซตามิโนเฟน (acetaminophen) หรือไอบูโพรเฟน (ibuprofen) (ตามคำแนะนำในบรรจุภัณฑ์ของยา)
  • สำหรับเด็ก ให้ใช้น้ำเกลือแบบหยดหรือแบบสเปรย์เพื่อช่วยบรรเทาอาการ
    น้ำมูกไหล
     (ดูสูตรสำหรับโรคหวัด/น้ำมูกไหลในหน้า 9); สำหรับผู้ใหญ่การล้างจมูกด้วยน้ำเกลือจะมีประสิทธิภาพมากกว่า.
  • ยาแก้คัดจมูกอาจช่วยบรรเทาอาการคัดจมูกได้แต่จะไม่ทำให้ระยะเวลาของการเป็นหวัดสั้นลง

    หมายเหตุ: อย่าให้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้แก่ทารกหรือเด็กอายุต่ำกว่าหกปี

    หมายเหตุ: ยาแก้คัดจมูกอาจมีส่วนผสมของยาลดไข้ร่วมด้วย อ่านฉลากอย่างละเอียด และตรวจสอบกับเภสัชกรหรือแพทย์ เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ยาเกินขนาด

ทั้งแบคทีเรียและไวรัสสามารถทำให้เกิดไซนัสอักเสบได้
(ไวรัสพับบ่อยกว่าถึง 200 เท่า)

เจ็บคอ

อาการเจ็บคอมักมาพร้อมกับอาการหวัด อาการเจ็บคอส่วนใหญ่เกิดจากไวรัส ยาปฏิชีวนะไม่สามารถรักษาอาการเจ็บคอที่เกิดจากไวรัสได้

อาการเจ็บคอบางชนิดอาจเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย สเตรปโตคอคคัส
(Streptococcus) หากมีอาการเจ็บคอร่วมกับมีน้ำมูกไหล ไอ เสียงแหบ ตาแดง หรือท้องเสีย อาจเกิดจากไวรัสไม่ใช่โรคคออักเสบ (strep throat)

แพทย์ไม่สามารถบอกได้ว่าอาการเจ็บคอเป็นโรคคออักเสบหรือไม่จากการมองดูแค่ภายนอก

  • ถ้าอาการเจ็บคอมาพร้อมกับอาการหวัดก็เป็นไปได้มากกว่าจะเกิดจากไวรัส และไม่จำเป็นต้องเก็บตัวอย่างจากช่องคอ
  • หากคุณไม่มีอาการหวัด แพทย์อาจเก็บตัวอย่างจากช่องคอเพื่อดูว่าอาการเจ็บคอเกิดจากแบคทีเรียหรือไวรัส โดยปกติจะทราบผลการทดสอบภายใน 48 ชั่วโมง
  • หากผลการทดสอบเป็นลบ ยาปฏิชีวนะจะใช้ไม่ได้ผลเนื่องจากอาการเจ็บคอดังกล่าวน่าจะเกิดจากไวรัส
  • หากผลการทดสอบเป็นบวก แพทย์อาจตัดสินใจสั่งยาปฏิชีวนะ
  • สมาชิกครอบครัวคนอื่นๆ ไม่จำเป็นต้องเข้ารับการตรวจเว้นแต่จะป่วย

การดูแล:

  • ดื่มของเหลวเยอะๆ เช่น น้ำเปล่า
  • สำหรับอาการเจ็บคอและมีไข้ ให้พิจารณาใช้ยาอะเซตามิโนเฟน (acetaminophen) หรือไอบูโพรเฟน (ibuprofen) (ตามคำแนะนำในบรรจุภัณฑ์ของยา)
  • สำหรับเด็กอายุ 6 ปีขึ้นไปและผู้ใหญ่ ยาอมแก้เจ็บคอธรรมดาอาจบรรเทาอาการได้
    หมายเหตุ: เด็กเล็กไม่ควรได้รับยาอมแก้เจ็บคอเนื่องจากอาจเสี่ยงต่อการสำลัก
  • สำหรับเด็กโตและผู้ใหญ่ การกลั้วคอด้วยน้ำเกลืออุ่นๆ จะช่วยให้อาการเจ็บคอดีขึ้น ผสมเกลือแกง ½ ช้อนชากับน้ำอุ่น 1 ถ้วย (250 มล.) กลั้วคอให้สะอาดเป็นเวลา 10 วินาที อาจทำเช่นนี้ 4-5 ครั้งต่อวัน
  • คุณหรือบุตรหลานของคุณสามารถกลับไปทำกิจกรรมตามปกติได้เมื่อรู้สึกดีขึ้น

ปวดหู

ท่อยูสเตเชียน (Eustachian tube) เชื่อมระหว่างหูชั้นกลางและด้านหลังของลำคอ ในเด็กเล็ก เนื่องจากท่อนี้แคบจึงอาจอุดตันได้ โดยเฉพาะเมื่อเป็นหวัด ซึ่งการอุดตันนี้อาจนำไปสู่การติดเชื้อได้ 

โปรดจำไว้ว่า 70-80% ของเด็กที่ติดเชื้อที่หูจะดีขึ้นได้โดยไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ การติดเชื้อที่หูบางชนิดเกิดจากเชื้อไวรัส และบางชนิดเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย การเฝ้าระวังเป็นแนวทางที่สมเหตุสมผลที่แพทย์ของคุณอาจแนะนำ

อาการ:

  • ไข้
  • เจ็บปวดที่หู
  • ระคายเคือง

การป้องกัน:

  • ล้างมือบ่อยๆ และสอนบุตรหลานของคุณเรื่องการล้างมือ เนื่องจากการติดเชื้อที่หูส่วนใหญ่เกิดขึ้นหลังเป็นหวัด
  • หลีกเลี่ยงการให้บุตรหลานของคุณสัมผัสควันบุหรี่
  • อย่าให้บุตรหลานดื่มน้ำจากขวดขณะนอนราบ

การดูแล:

  • หากเจ็บปวดและเป็นไข้ให้พิจารณาใช้ยาอะเซตามิโนเฟน (acetaminophen) หรือไอบูโพรเฟน (ibuprofen) (ตามคำแนะนำในบรรจุภัณฑ์ของยา)
  • ประคบผ้าอุ่นไว้ด้านนอกหู
  • ยาแก้แพ้และยาแก้คัดจมูกไม่ได้ช่วยบรรเทาอาการติดเชื้อในหู
  • ในบางกรณี แพทย์อาจสั่งยาปฏิชีวนะหลังจากการตรวจหูของเด็ก
  • เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อการดื้อยาปฏิชีวนะ จึงไม่แนะนำให้รับประทานยาปฏิชีวนะติดต่อกันเป็นเวลานานเพื่อป้องกันการติดเชื้อในหู

ไอ

อาการไอในผู้ใหญ่และเด็กส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจ (ดูแผนภูมิด้านล่าง) ควรใช้ยาปฏิชีวนะสำหรับอาการไอเฉพาะในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นโรคปอดบวมเนื่องจากแบคทีเรีย หรือผลการตรวจเป็นบวกสำหรับโรคไอกรน (pertussis)

อาการ:

  • มีไข้ ไอ และเจ็บหน้าอก
  • ไอเป็นเสมหะ ซึ่งอาจเป็นสีเหลืองหรือสีเขียว นี่ไม่ได้หมายความว่าเป็นการติด
    เชื้อแบคทีเรีย
  • อาจมีอาการหายใจมีเสียงหวีด
    หมายเหตุ: ผู้ป่วยโรคหลอดลมอักเสบจากไวรัส 45% ยังคงมีอาการไอหลัง
    จากผ่านไป 2 สัปดาห์ 25% ยังคงมีอาการไอหลังจากผ่านไป 3 สัปดาห์

โรค

บริเวณ

กลุ่มอายุ

สาเหตุ

โรคกล่องเสียงอักเสบ

เส้นเสียง

เด็กโต / ผู้ใหญ่

ไวรัส

โรคครูป

เส้นเสียงและหลอดลมใหญ่

เด็กเล็ก

ไวรัส

โรคหลอดลมอักเสบ1

หลอดลมเล็ก

เด็กโต / ผู้ใหญ่

ไวรัส

โรคหลอดลมอักเสบ

แขนงหลอดลม (เล็ก)

ทารก

ไวรัส

โรคปอดอักเสบ

ถุงลม

ทุกช่วงอายุ

แบคทีเรียหรือไวรสั

ไอกรน

จมูกถึงปอด

เป็นได้ทุกวัย

แบคทีเรีย

1ผู้ป่วยที่เป็นโรคปอดเรื้อรังระยะยาวบางครั้งอาจติดเชื้อแบคทีเรียเมื่อเป็นโรคหลอดลมอักเสบ

การดูแล:

  • ดื่มของเหลวเยอะๆ เช่นน้ำเปล่า
  • ยาระงับอาการไออาจบรรเทาอาการในเด็กโตและผู้ใหญ่ได้
    หมายเหตุ: อย่าให้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้แก่ทารกหรือเด็กอายุต่ำกว่าหกปี
    หมายเหตุ: ยาน้ำแก้ไออาจมีส่วนประกอบของยาลดไข้ร่วมด้วย อ่านฉลากอย่างละเอียด และตรวจสอบกับเภสัชกรหรือแพทย์เพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ยาเกินขนาด
  • ยาอมแก้ไอหรือยาอมธรรมดาอาจบรรเทาอาการในเด็กโตและผู้ใหญ่ได้ หลีกเลี่ยงยาอมแก้ไอแบบต้านเชื้อแบคทีเรียเพราะอาจทำให้ดื้อยาปฏิชีวนะได้
    หมายเหตุ: ไม่ควรให้ยาอมแก้ไอแก่เด็กอายุต่ำกว่า 6 ปีเนื่องจากอาจเสี่ยงต่อการสำลัก
  • แนะนำให้เอ็กซเรย์ทรวงอกเพื่อวินิจฉัยโรคปอดบวมจากแบคทีเรีย หลังจากวินิจฉัยโรค จึงจะมีการสั่งยาปฏิชีวนะ

อาการร้ายแรงที่ควรพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

อาการเหล่านี้ต้องได้รับการดูแลจากแพทย์หรือผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาล

ไข้:

  • หากเด็กอายุต่ำกว่า 3 เดือนมีไข้ควรรีบพาไปพบแพทย์ทันที
  • หากเด็กไม่ว่าวัยใดมีไข้และดูไม่สบาย ควรรีบไป
    พบแพทย์ทันที
  • หากเด็กไม่ว่าวัยใดมีไข้นานเกิน 3 วัน ควรรีบพาไปพบแพทย์ภายใน 24 ชั่วโมง

ปวดหู:

พาไปพบแพทย์หากเด็กมีอาการปวดหูร่วมกับอาการดังนี้:

  • มีไข้สูงร่วมด้วย หรือ
  • ดูเหมือนไม่สบาย หรือ
  • มีรอยแดงหรือบวมหลังใบหู หรือ
  • ใบหูถูกดันไปข้างหน้า หรือ
  • อาการปวดหูยังคงรุนแรงนานกว่า 24 ชั่วโมงแม้จะใช้ยาอะเซตามิโนเฟน/ ไอบูโพรเฟน ไปแล้วก็ตาม

ผู้ใหญ่ที่เป็นไข้หรือเจ็บป่วยอื่นๆ ควรปรึกษาแพทย์หรืผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาลหากอาการแย่ลงหรือรุนแรงผิดปกติ

ใน Alberta คุณสามารถโทรไปที่ Health Link (ที่ 811) หากคุณต้องการคำแนะนำหรือไม่แน่ใจเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด

หากต้องการคำแนะนำที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพในเด็ก โปรดไปที่ ahs.ca/heal, ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลสาธารณะที่ดูแลโดย Stollery Children’s Hospital

สัญญาณของ ภาวะฉุกเฉิน ด้านสุขภาพ

หากคุณหรือคนที่คุณดูแลอยู่แสดงอาการเหล่านี้โปรดไปพบแพทย์ทันที

ไข้

ไปพบแพทย์ทันทีหาก:

  • ผู้ที่เป็นไข้ทุกช่วงวัยมีอาการหงุดหงิดหรือเซื่องซึมมาก (ตื่นยากหรือตื่นตัวยาก) อาเจียนซ้ำแล้วซ้ำเล่าและอาจมีอาการคอแข็งหรือมีผื่นรุนแรงที่่ไม่หายไปเมื่อกดจุดต่างๆ (ซึ่งอาจดูเหมือนรอยช้ำเล็กๆ).

การหายใจ

ไปพบแพทย์ทันทีหาก:

  • ผู้ป่วยทุกช่วงวัยมีปัญหาในการหายใจ (ที่ไม่ได้เกิดจากอาการคัดจมูก)
  • ผู้ป่วยหายใจเร็วหรือช้ากว่าปกติมาก หรือบริเวณริมฝีปาก มือ หรือเท้าเป็นสีเขียวคล้ำ

สภาพทั่วไป

ไปพบแพทย์ทันทีหาก:

  • ผู้ป่วยทุกช่วงวัยตื่นยาก ตื่นตัวยาก หรือสับสนหงุดหงิด หรือกระสับกระส่ายมากกว่าปกติ มีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงไม่หาย คอแข็ง มีรอยด่างหรือผิวซีดมาก หรือรู้สึกว่าตัวเย็นเมื่อสัมผัส
  • ผู้ป่วยมีสัญญาณของอาการขาดน้ำ ได้แก่ ผิวแห้ง ปากแห้ง มีรอยบุ๋ม (ที่กระหม่อม) ในทารก หรือมีปัสสาวะน้อยมาก

อาการอื่นๆ ที่ต้องไปพบแพทย์ทันทีได้แก่:

  • หากผู้ป่วยกลืนลำบากหรืน้ำลายไหลมากเกินไป

  • หากผู้ป่วยทุกช่วงวัยมีอาการแขนขาอ่อนแรง

ข้อมูลนี้ให้ไว้เพื่อใช้อ้างอิงเท่านั้น คุณต้องใช้ความรู้และวิจารณญาณของตนเองตลอดเวลาว่าคุณจำเป็นต้องพูดคุยกับแพทย์ พยาบาล หรือผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาลหรือไม่

ใน Alberta คุณสามารถโทรไปที่ Health Link (โทร 811) หากคุณต้องการคำแนะนำหรือไม่แน่ใจเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด

การดื้อยาปฏิชีวนะ

การดื้อยาปฏิชีวนะคืออะไร

  • การใช้ยาปฏิชีวนะ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลที่ถูกหรือผิดก็สามารถนำไปสู่การดื้อยาปฏิชีวนะได้ เพื่อจำกัดการพัฒนาของการดื้อยาปฏิชีวนะ ควรใช้ยาปฏิชีวนะเมื่อจำเป็นจริงๆ เท่านั้น
  • การดื้อยาปฏิชีวนะเป็นกลไกการป้องกันของแบคทีเรียซึ่งช่วยให้พวกมันสามารถอยู่รอดและเพิ่มจำนวนได้ แม้ว่าเราจะใช้ยาปฏิชีวนะอยู่ก็ตาม แบทีเรียที่ดื้อยาปฏิชีวนะบาครั้งเรียกว่า “เชื้อดื้อยา (superbugs)
  • เมื่อเชื้อแบคทีเรียดื้อยาปฏิชีวนะ ยาปฏิชีวนะที่เคยใช้ในอดีตจะใช้ไม่ได้ผลอีกต่อไป
  • การรักษาการติดเชื้อที่เกิดจากแบคทีเรียที่ดื้อยาปฏิชีวนะนั้นทำได้ย้าก และบางครั้งก็รักษาไม่ได้ซึ่งอาจส่งผลให้อาการเจ็บป่วยกินเวลานานขึ้นและอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
  • โปรดจำไว้ว่าสิ่งที่ดื้อยาคือแบคทีเรีย ไม่ใช่คุณ! แม้แต่คนที่มีสุขภาพดีมากที่ไม่เคยรับประทานยาปฏิชีวนะก็สามารถติดเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อยาปฏิชีวนะจากแหล่งอื่นได้

ยาปฏิชีวนะไม่ได้ช่วยรักษาอาการที่ เกิดจากการติดเชื้อไวรัส เช่น หวัด ไข้หวัดใหญ่ และหลอดลมอักเสบ (โรคหวัดลงปอด) การใช้ยาปฏิชีวนะสำหรับการติดเชื้อเหล่านี้สามารถนำไปสู่การดื้อยาปฏิชีวนะได้

คุณควรปฏิบัติอย่างไร?

  • อย่าคาดหวังว่าจะได้รับยาปฏิชีวนะเมื่อคุณหรือบุตรหลานของคุณเป็นหวัดหรือไอ การติดเชื้อเหล่านี้ส่วนใหญ่เกิดจากไวรัส และยาปฏิชีวนะก็ไม่ได้ช่วยให้อาการดีขึ้
  • ปรึกษากับแพทย์ว่าการติดเชื้อของคุณเกิดจากไวรัส หรือแบคทีเรีย และจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะหรือไม่
  • พยายามอดทนเมื่อคุณ (หรือบุตรหลาน) มีอาการเป็นหวัด ไอ หรือเจ็บคอ อาการป่วยจากไวรัสส่วนใหญ่จะใช้เวลา 4-5 วันก่อนอาการจะดีขึ้นและใช้เวลาถึง 3 สัปดาห์ในการฟื้นตัวเต็มที่
  • ในช่วงฤดูหนาวหรือฤดูไข้หวัดใหญ่ ควรล้างมือบ่อยๆ เพื่อป้องกันเชื้อโรคปฏิบัติตามคำแนะนำในการล้างมือโดยละเอียดของเราในหน้าถัดไป

หลีกเลี่ยงการติดเชื้อที่ดื้อยา
ใช้ยาปฏิชีวนะอย่างชาญฉลาด

วิธีล้างมือ

การล้างมือเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการหยุดการแพร่กระจายของเชื้อโรค

80% ของการติดเชื้อทั่วไปสามารถแพร่กระจายได้จากมือสัมผัส

ควรล้างมือเมื่อใด:

  • ก่อนรับประทานอาหาร
  • ก่อน ระหว่าง และหลังการเตรียมอาหาร
  • ก่อนให้นมบุตร
  • หลังจากใช้ห้องน้ำหรือช่วยเหลือเด็กให้ใช้ห้องน้ำ
  • ก่อนและหลังเปลี่ยนผ้าอ้อมหรือผลิตภัณฑ์สุ์ขอนามัยสตรี
  • หลังจากสั่งน้ำมูกหรือเช็ดจมูกให้เด็ก
  • หลังจากสัมผัสสิ่งของที่ใช้ร่วมกับผู้อื่น
  • ก่อนใส่หรือถอดคอนแทคเลนส์
  • ก่อนและหลังดูแลผู้ป่วย
  • หลังจากสัมผัสหรือให้อาหารสัตว์ หรือจัดการมูลสัตว์
  • ก่อนและหลังการใช้ไหมขัดฟัน

วิธีล้างมือ:

  1. ใช้สบู่และน้ำการล้างด้วยน้ำเพียงอย่างเดียวไม่สามารถกำจัดเชื้อโรคได้
  2. ล้างมือให้เปียก
  3. ใช้สบู่ธรรมดา อย่าใช้สบู่ต้านเชื้อแบคทีเรีย
  4. ถูสบู่ที่มืออย่างน้อย 20 วินาที (หรือจับเวลาโดยการร้องเพลง Twinkle, Twinkle, Little Star (ทวิงเคิล ทวิงเคิล ลิตเติ้ล สตาร์) หนึ่งรอบ) ถูมือทุกส่วนให้ทั่ว ทั้งฝ่ามือ ระหว่างง่ามนิ้ว หัวแม่มือ หลังมือ ข้อมือ ปลายนิ้วและเล็บ
  5. ล้างมือด้วยน้ำเปล่าให้สะอาดเป็นเวลา 10 วินาที
  6. เช็ดมือให้แห้งด้วยผ้าสะอาด

สิ่งที่คุณควรปฏิบัติ:

  • คาดหวังให้แพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล และนักบำบัดล้างมือก่อนที่จะตรวจร่างกายคุณหรือบุตรหลานของคุณ
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีสบู่แบบธรรมดาอยู่ในห้องน้ำโรงเรียนของบุตรหลานและที่ทำงานของคุณ
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าสถานดูแลเด็กมีสถานที่ล้างมือสำหรับผู้ใหญ่และเด็ก
  • ใช้สบู่แบบธรรมดา สบู่แบบธรรมดาก็ใช้ได้ผลพอๆ กับสบู่ต้านเชื้อแบคทีเรีย ไม่แนะนำให้ใช้สบู่ต้านเชื้อแบคทีเรีย เพราะจทำให้แ้บคทีเรียดื้อยาและไม่ได้ผลดีไปกว่าสบู่แบบธรรมดา
  • สอนโดยการทำเป็นตัวอย่าง

ข้อความปฏิเสธความรับผิดชอบ:

(Disclaimer statement)

เนื้อหานี้มีไว้สำหรับข้อมูลทั่วไปเท่านั้น และจัดทำขึ้น “ตามที่เป็นอยู่” และ “ตามที่เผยแพร่” แม้ว่าจะมีความพยายามตามสมควรเพื่อยืนยันความถูกต้องของข้อมูลแล้ว แต่ Alberta Health Services ไม่ได้ให้การรับรองหรือการรับประกันใดๆ ทั้งโดยชัดแจ้ง้ โดยนัย หรือตามกฎหมาย เกี่ยวกับความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ ความครบถ้วน การบังคับใช้ หรือควาเหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์ เฉพาของข้อมูลดังกล่าว เอกสารนี้ไม่สามารถใช้ทดแทนคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพที่ผ่านการรับรองได้ Alberta Health Services ขอปฏิเสธความรับผิดชอบทั้งหมดอย่างชัดแจ้งต่อการใช้งานเนื้อหาเหล่านี้  และสำหรับการเรียกร้องการดำเนินการข้อเรียกร้อง หรือการฟ้องร้องใดๆ ที่เกิดขึ้นจากการใช้งานเนื้อหาดังกล่าว

Do Bugs Need Drugs,
Communicable Disease Control,
Alberta Health Services.

DBND@ahs.ca
www.dobugsneeddrugs.org

© 2022 Alberta Health Services,
Provincial Population & Public Health

ผลงานนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ใบอนุญาต Creative Commons Attribution-Non-Commercial-Share Alike 4.0 International หากต้องการดูสำเนาใบอนุญาตนี้ โปรดดู https://creativecommons.org/licenses/by-nc-sa/4.0/. คุณมีอิสระที่จะคัดลอก แจกจ่าย และดัดแปลงงานเพื่อวัตถุประสงค์ที่ไม่ใช่เชิงพาณิชย์  ตราบใดที่คุณถือว่างานดังกล่าวเป็นของ Alberta Health Services และปฏิบัติตามข้อกำหนดสิทธิ์การใช้งานอื่นๆ หากคุณแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือต่อยอดผลงานจากงานนี้ คุณสามารถเผยแพร่ผลงานเหล่านั้นได้ภายใต้ลิขสิทธิ์เดียวกัน ที่คล้ายกัน หรือที่เข้ากันได้เท่านั้น ใบอนุญาตนี้ไม่ได้บังคับใช้กับเครื่องหมายการค้า โลโก้หรือเนื้อหาของ AHS ซึ่ง Alberta Health Services ไม่ได้เป็นเจ้า ของลิขสิทธิ์

Share the Guide

Facebook
Twitter
Email
WhatsApp